พุยพุย

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2559

ใบงานที่ 6 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์

ใบงาน 5 บทความสารคดีที่นำมาใช้ในการเขียนโครงร่าง

cr https://scontent.cdninstagram.com/t51.2885-15/s320x320/e15/11424575_422516157933959_624938906_n.jpg?ig_cache_key=MTAxNTkxMzA1NDc2MTM2MjAxMQ%3D%3D.2

สาวมือใหม่หัดแต่งหน้า คงจะงงกันไม่ใช่น้อยว่าแปรงแต่ละแบบ แต่ละชนิดทำหน้าที่อะไรกันบ้าง
ยิ่งแต่งหน้าไปนานๆ จะยิ่งรู้ได้เลยว่าแปรงแต่ละชนิดทำให้อารมณ์หลังแต่หน้าออกมาให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันมาก แต่สำหรับสาวๆที่ไม่ได้เน้นความละเอียดในการแต่งหน้าเท่าไรก็ควรมีแปรงพื้นฐานพกไว้สัก 2-3 แปรง ได้แก่ แปรงปัดแก้ม แปรงทาอายชาโดว์ และแปรงปัดคิ้ว
คุณภาพของแปรง
cr http://f.lnwfile.com/_/f/_raw/ya/a7/tm.jpg


วิธีการดูว่าแปรงนั้นมีคุณภาพหรือไม่คือความรู้สึกเมื่อขนแปรงสัมผัสบนผิว อย่างขนแปรงดีๆ นี่จะนุ่มมากเมื่อสัมผัสแล้วไม่รู้สึกสากๆ และใช้นิ้วลองไล้ขนแปรงดูว่าหลุดร่วงง่ายหรือเปล่า เพราะอย่าลืมว่าเราต้องทำความสะอาดแปรงอยู่เสมอนะคะ ถ้าหากขนแปรงหลุดร่วงง่ายทำความสะอาดไม่กี่ครั้งก็พังแล้วค่ะ และแปรงที่ดีด้ามจับต้องจับถนัดมือ

หน้าที่ของแปรงแต่ละชนิด



แปรงปัดแก้ม (Blush Brush)

ควรเป็นขนแปรงธรรมชาติเพราะขนแปรงธรรมชาติจะทาสีติดดีกว่าขนแปรงสังเคราะห์ แปรงควรมีขนาดกว้างพอที่จะปัดโหนกแก้มของเราได้ทั่ว

แปรงทาคิ้ว (Brow Brush)  

ขนแปรงจะสั้นและแข็งและจะเป็นมุมเอียง เอาไว้สร้างมิติให้กับคิ้ว วัสดุที่ใช้จะเป็นขนสังเคราะห์และขนธรรมชาติ

แปรงแต่งคิ้ว (Brow Grooming Brush)

ใช้สำหรับปัดคิ้วให้ได้รูปตามต้องการ ขนแปรงจะลักษณะคล้ายหวี หรือจะมองอีกทีก็ละม้ายคล้ายแปรงสีฟันค่ะ
แปรงทาคอนซีลเลอร์ (Concealer Brush)

ขนแปรงควรมีขนนุ่ม ไม่แข็งและทำให้ระคายเคืองเพราะเราเราต้องใช้บริเวณรอบดวงตาทีมีความบอบบาง วัสดุที่ใช้ควรเป็นขนสังเคราะห์เนื้อมันเงา จะช่วยให้เกลี่ยลื่นไปกับผิว แปรงคอนซีลเลอร์อาจจะยังไม่ใช่แปรงชิ้นที่สำคัญที่สุด แต่เวลาที่เราทาคอนซีลเลอร์ในจุดที่เข้าถึงยากเช่นใต้ตาแปรงชิ้นนี้จะช่วยเราได้ค่ะ
แปรงทาอายแชโดว์   (Eye Shadow Brush)

ลักษณะของแปรงต้องกว้างพอที่ครอบคลุมครึ่งหนึ่งของเปลือกตา ถ้าไม่แน่ใจว่าคลุมครึ่งหนึ่งหรือเปล่าวิธีเช็คก็เอาแปรงวางทาบลงบนตาเลยค่ะ ขนแปรงจากธรรมชาติ ขนนุ่ม ปลายต้องโค้งมนเพื่อจะช่วยทำให้การทาอายแชโดว์ขอบตาล่างได้เเส้นที่นุมนวล

แปรงคอนทัวร์เปลือกตา (Eye Contour Brush)

ขนแปรงธรรมชาติ รูปหัวแปรงกลม ปลายตัด ขนแปรงสั้น ใช้สำหรับเก็บเนื้อสีอายแชโดว์สร้างเค้าโครงตาให้มีมิติ นึกง่ายๆ แปรงนี้เหมาะกับการใช้ทำสโมกกี้อายหรือคัดเบ้าตามาก

แปรงผสมสีอายแชโดว์ (Eye Blender Brush)

ขนแปรงทำมาจากธรรมชาติ ลักษณะขนแปรงยาว นุ่ม ฟู เอาไว้สำหรับใช้เกลี่ยสีอายแชโดว์ให้กลมกลืนกัน หรือจะใช้ไฮไลท์สันจมูกก็ได้เช่นกันค่ะ
แปรงเกลี่ยสำหรับเปลือกตา (Eye Smudge Brush)

หัวแปรงขนาดเล็ก ขนแปรงทำมาจากธรรมชาติ มีขนนุ่ม ช่วยเกลี่ยอายไลน์เนอร์ให้ดูฟุ้งกระจาย เหมาะกับการเอาไว้ทำสโมกี้อายส์

แปรงเขียนอายไลน์เนอร์ (Eyeliner Brush)

ทำมาจากขนสังเคราะห์ สามารถใช้กับอายไลน์เนอร์ได้ทั้งแบบเปียกและแบบแห้ง

แปรงทารองพื้น ( Foundation Brush)

ขนแปรงปลายแบน ทำมาจากขนสังเคราะห์ ช่วยในการกะปริมาณรองพื้นบนผิวได้พอดี (แต่สุดท้ายก็ใช้นิ้วเกลี่ยอยู่ดีนะ ฮ่า)


แปรงทาแป้ง (Powder Brush)

ขนแปรงธรรมชาติ มีขนาดใหญ่ ขนฟู นุ่ม เวลาปัดแป้งขนแปรงจะต้องสปริงตัวได้ดีค่ะ สามารถใช้ได้ทั้งกับแป้งฝุ่นและแป้งอัดแข็ง



แปรงทาปาก (  Lip Brush)

ขนแปรงสังเคราะห์ แน่น ช่วยในการทาลิปสติกได้สวย เป็นรูปทรงมากกว่าการทาจากแท่งตรงๆ ส่วนมากเราจะเอาไว้ใช้ตอนทาลิปสติกสีเข้มๆ ต้องการความเนี้ยบ


เคล็ดไม่ลับ ! 
ขนาดของแปรง ส่วนใหญ่แล้วแปรงที่มาพร้อมกับเมคอัพ หัวแปรงจะมีขนาดเล็กและแคบ ไม่เหมาะกับการเอามาใช้แต่งทุกๆ วัน ควรหาแปรงที่เหมาะสมเหมาะสมกับจุดประสงค์ที่เราต้องการการใช้
ขนแปรงธรรมชาติ เช่นขนกระรอก ขนลูกม้า ขนแพะ หรือตัวเซเบิล จะมีความนุ่มมาก จะช่วยให้เกลี่ยได้กลมกลืนเป็นธรรมชาติ เหมาะกับการใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทฝุ่น
ขนแปรงสังเคราะห์ เหมาะกับการใช้กับผลิตภัณฑ์เนื้อครีม เช่นคอนซีลเลอร์ อายไลน์เนอร์ รองพื้น ลิปสติก ขนแปรงพวกนี้จะแข็งแรง ช่วยในการควบคุมปริมาณการใช้ผิตภัณฑ์ได้แม่นยำ
นิ้วมือสารพัดประโยชน์ ไม่มีอะไรสู้ความอุ่นจากปลายนิ้วมือในการเกลี่ยสีเมคอัพได้เลย ใช้นิ้วทาลิปสติก ใช้มือวอร์มรองพื้น(ประเภทที่ผสมครีมบำรุง) อุณหภูมิของมือช่วยทำให้ผิวหน้าสว่างสดใส รองพื้นไม่เปลี่ยนสีระหว่างวัน








ใบงานที่ 4 คลังความรู้

cr http://online.theactkk.net/system_news/userfiles/image/Quota%20University/14_11_57/66.jpg
7 วิชาสามัญย้อนหลังงงงงงง!

ปี 2555

             - วิชาภาษาไทย       + ข้อสอบพร้อมเฉลย
             - วิชาสังคม              + ข้อสอบพร้อมเฉลย
             - วิชาอังกฤษ           + ข้อสอบพร้อมเฉลย
             - วิชาคณิตศาสตร์    + ข้อสอบพร้อมเฉลย
             - วิชาฟิสิกส์             + ข้อสอบพร้อมเฉลย
             - วิชาเคมี                 + ข้อสอบพร้อมเฉลย
             - วิชาชีววิทยา          + ข้อสอบพร้อมเฉลย
cr https://www.facebook.com/paracetablog/photos/a.311734698896357.68976.311672505569243/1019202984816188/?type=3&theater

ปี 2556
             - วิชาภาษาไทย       + ข้อสอบพร้อมเฉลย
             - วิชาสังคม              + ข้อสอบพร้อมเฉลย
             - วิชาอังกฤษ           + ข้อสอบพร้อมเฉลย
             - วิชาคณิตศาสตร์    + ข้อสอบพร้อมเฉลย
             - วิชาฟิสิกส์             + ข้อสอบพร้อมเฉลย
             - วิชาเคมี                 + ข้อสอบพร้อมเฉลย
             - วิชาชีววิทยา          +ข้อสอบพร้อมเฉลย
cr https://www.facebook.com/DekAdmission/photos/a.147178538654808.26223.143968298975832/1147943381911647/?type=3&theater

ปี 2557
            - วิชาภาษาไทย       + ข้อสอบพร้อมเฉลย
             - วิชาสังคม              + ข้อสอบพร้อมเฉลย
             - วิชาอังกฤษ           + ข้อสอบพร้อมเฉลย
             - วิชาคณิตศาสตร์    + ข้อสอบพร้อมเฉลย
             - วิชาฟิสิกส์             + ข้อสอบพร้อมเฉลย
             - วิชาเคมี                 + ข้อสอบพร้อมเฉลย
             - วิชาชีววิทยา          + ข้อสอบพร้อมเฉลย
cr https://www.facebook.com/paracetablog/photos/a.311734698896357.68976.311672505569243/1019901161413037/?type=3&theater


ปี 2555
            - วิชาภาษาไทย       + ข้อสอบพร้อมเฉลย
             - วิชาสังคม             + ข้อสอบพร้อมเฉลย
             - วิชาอังกฤษ           + ข้อสอบพร้อมเฉลย
             - วิชาคณิตศาสตร์    + ข้อสอบพร้อมเฉลย
             - วิชาฟิสิกส์             + ข้อสอบพร้อมเฉลย
             - วิชาเคมี                 + ข้อสอบพร้อมเฉลย
             - วิชาชีววิทยา          + ข้อสอบพร้อมเฉลย

cr https://www.facebook.com/paracetablog/photos/a.311734698896357.68976.311672505569243/1019771661425987/?type=3&theater

CR http://forum.02dual.com/index.php?topic=8141.0

*เสริมข้อสอบชุดสุขะศิลปะและการงานอาชีพและเทคโนโลยี

   ปีการศึกษา 2550 + ข้อสอบพร้อมเฉลย
   ปีการศึกษา 2551 + ข้อสอบพร้อมเฉลย
   ปีการศึกษา 2552 + ข้อสอบพร้อมเฉลย
   ปีการศึกษา 2553 + ข้อสอบพร้อมเฉลย









crhttp://pirun.kps.ku.ac.th/~b5127253/link1.html

วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ใบงานที่ 3


 
พรบ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2558 from LittleOrawee
cr.http://www.slideshare.net/LittleOrawee/2558-51792864 


แก้มาตรา 14(1) ไม่มุ่งเอาผิดกับการหมิ่นประมาท แต่ยังคลุมเครือเปิดช่องตีความได้
พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ.2550 มาตรา 14(1) มีวัตถุประสงค์มุ่งเอาผิดการทำเว็บไซต์ปลอมเพื่อหลอกลวงผู้บริโภคให้เข้ามา ทำธุรกรรมต่างๆ เพราะเข้าใจผิดว่าเป็นเว็บไซต์จริงๆ หรือ ที่เรียกว่า Phishing แต่เนื่องจากกฎหมายเดิมเขียนเอาไว้ว่า “ผู้ใด... นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน” ทำให้มาตรานี้ถูกตีความไปใช้ลงโทษการโพสต์ข้อความในลักษณะหมิ่นประมาทบุคคล อื่น หรือการใส่ความกันบนโลกออนไลน์ ซึ่งเป็นการใช้งานที่ผิดวัตถุประสงค์ และส่งผลสร้างความกลัวที่จะแสดงความคิดเห็น หรือวิพากษ์วิจารณ์เรื่องราวต่างๆ บนโลกออนไลน์อย่างมาก
ร่างแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับที่เผยแพร่เมื่อปี 2558 เคย เสนอแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเขียน มาตรา 14(1) ใหม่เป็น “ผู้ใดโดยทุจริตนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ ทำให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สินหรือข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ส่วนสำคัญที่เขียนเข้ามาใหม่ คือ การโพสต์ข้อมูลต้องมีเจตนาเพื่อ “ให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สินหรือข้อมูลส่วนบุคคล” ทำให้ชัดเจนว่าเป็นการเอาผิดกับการ Phishing และการหมิ่นประมาทบนโลกออนไลน์ก็จะไม่ผิดตามกฎหมายนี้อีกต่อไป 
แต่ ตามร่างแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับที่ครม. มีมติเห็นชอบล่าสุด เขียนมาตรา 14(1) ใหม่ว่า "ผู้ใด... โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบาง ส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน"
ส่วน ที่เปลี่ยนแปลงไปในร่างฉบับนี้ คือ กำหนดให้ชัดเจนว่าผู้กระทำต้องมีเจตนา "โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง" ซึ่งคำว่า โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา หมายความว่า "เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น" เห็นได้ว่า ผู้ร่างต้องการแก้ไขให้ชัดเจนขึ้นว่ามาตรา 14(1) มีวัตถุประสงค์ใช้เอาผิดการกระทำที่มุ่งต่อประโยชน์ทางทรัพย์สิน ไม่ใช่การแสดงความคิดเห็นออนไลน์ และการกระทำที่จะเป็นความผิดตามมาตรา 14(1) จะต้องมีพฤติการณ์ที่จะสร้างความเสียหายแก่ประชาชน หรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ ซึ่งต่างจากมาตรา 14(1) เดิม ซึ่งการกระทำที่สร้างความเสียหายต่อบุคคลหนึ่งก็เป็นความผิดได้
อย่าง ไรก็ดี การเขียนมาตรา 14(1) ตามร่างฉบับนี้ ยังเปิดช่องให้เกิดการตีความนำไปใช้ลงโทษกับการหมิ่นประมาทออนไลน์ได้อยู่ บ้าง โดยอาจมีผู้เข้าใจผิดตีความไปได้ว่า การโพสต์เนื้อหาบนอินเทอร์เน็ตที่ไม่เป็นความจริงและทำให้ประชาชนทั่วไป สับสน เป็นเจตนา "โดยหลอกลวง" และยกเอามาตรา 14(1) มาใช้ดำเนินคดีกับการแสดงความคิดเห็นต่อไปอีก การเขียนมาตรา 14(1) ตามร่างฉบับนี้จึงยังเปิดช่องให้กฎหมายถูกใช้อย่างผิดเจตนารมณ์ได้อยู่ ต่างจากร่างฉบับปี 2558 ที่เขียนไว้ค่อนข้างรัดกุมชัดเจนกว่า
ส่วน บทกำหนดโทษ ตามมาตรา 14(1) ของร่างล่าสุด แบ่งโทษออกเป็นสองระดับ โดยความผิดฐานนำเข้าข้อมูลปลอมหรือข้อมูลเท็จ หากมีลักษณะจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชนทั่วไปได้ ให้มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท และหากจะเกิดความเสียหายแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น มาตรา 14 วรรคสอง เขียนให้มีโทษน้องลง โดยให้มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท

เพิ่มความผิดฐานโพสต์ข้อมูลเท็จที่กระทบ "ความปลอดภัยสาธารณะ" "ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ"
จาก เดิมที่ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(2) เอาผิดการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ สองลักษณะ คือ 1) น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ 2) น่าจะก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
ร่างแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับนี้ เพิ่มข้อความขึ้นมาโดยเอาผิดกับการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ สี่ลักษณะ คือ 1) น่าจะเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงของประเทศ 2) น่าจะเกิดความเสียหายต่อความปลอดภัยสาธารณะ 3) น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ และ 4) น่าจะก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
"ความ ปลอดภัยสาธารณะ" และ "ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ" เป็นคำที่มีความหมายกว้างและเป็นคำใหม่ที่ไม่ค่อยใช้เป็นเงื่อนไขกำหนดการ กระทำที่เป็นความผิดและกำหนดบทลงโทษ ยังไม่มีคำนิยามที่ชัดเจนอยู่ในกฎหมายฉบับใดมาก่อน การนำคำที่มีความหมายกว้างมาบัญญัติเป็นข้อห้ามลักษณะนี้อาจเป็นการใช้ถ้อย คำให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การคุ้มครองความมั่นคงของระบบไซเบอร์ และการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งเป็นนโยบายรวมของการผลักดันกฎหมายชุดความมั่นคงดิจิทัลทั้งระบบ จึงยังต้องรอดูร่างกฎหมายฉบับอื่นๆ ในชุดกฎหมายนี้ที่จะเผยแพร่ตามมาอีกด้วยว่า มีกฎหมายฉบับใดให้คำนิยามของสองคำนี้ไว้หรือไม่
แอดมินที่ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจรับผิดเท่าคนโพสต์ เพิ่ม "ขั้นตอนการแจ้งเตือน" ให้ทำตามแล้วพ้นผิด
ตาม มาตรา 15 ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ.2550 ประเด็นความรับผิดของ “ผู้ให้บริการ” เป็นปัญหาใหญ่ เพราะกฎหมายเดิมกำหนดไว้ว่า ผู้ให้บริการที่ “จงใจสนับสนุนหรือยินยอม” ให้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นในระบบคอมพิวเตอร์ที่ดูแลอยู่ ต้องรับโทษเท่ากับผู้กระทำความผิด ซึ่งเป็นการสร้างภาระทางกฎหมายให้ผู้ดูแลเว็บไซต์เป็นอย่างมาก ช่วงหลายปีที่ผ่านมาเว็บไซต์หลายแห่งจึงยกเลิกบริการพื้นที่แสดงความคิดเห็น อย่าง เว็บบอร์ด หรือการคอมเม้นต์ท้ายข่าว และต้องคอยเซ็นเซอร์เนื้อหาบนโลกออนไลน์โดยการลบข้อความที่อาจจะยังไม่แน่ใจ ว่าผิดกฎหมายหรือไม่ เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง
ร่างแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับนี้ แม้จะยังกำหนดให้ผู้ให้บริการต้องรับผิดเท่ากับผู้กระทำความผิด แต่ก็เพิ่มบทบัญญัติขึ้นมาว่า
            “มาตรา 15 ผู้ให้บริการผู้ใดให้ความร่วมมือ ยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจ ให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 14 ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิด ตามมาตรา 14
             ให้รัฐมนตรีออกประกาศกำหนดขั้นตอนการแจ้งเตือน การระงับทำให้แพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์ และการนำข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นออกจากระบบคอมพิวเตอร์
             ถ้าผู้ให้บริการพิสูจน์ได้ว่าตนได้ปฏิบัติตามประกาศของรัฐมนตรีที่ออกตามวรรคสอง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ" 
จุด ที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงจากร่างเดิมคือพฤติการณ์อันแสดงถึงเจตนาของผู้ให้บริการ ซึ่งกฎหมายเดิมเอาผิดกับผู้ให้บริการที่ "จงใจสนับสนุนหรือยินยอม" ส่วนตามร่างฉบับนี้ เอาผิดกับผู้ให้บริการที่ 1) ให้ความร่วมมือ 2) ยินยอม 3) รู้เห็นเป็นใจ
การ "ให้ความร่วมมือ" หรือ "รู้เห็นเป็นใจ" อาจต้องชัดเจนว่าผู้ให้บริการมีเจตนากระทำความผิดร่วมกับผู้ที่โพสต์เนื้อหา ผิดกฎหมายเองด้วย แต่คำว่า "ยินยอม" ยังเป็นเรื่องยากที่จะพิสูจน์ว่า กรณีใดผู้ให้บริการพบเห็นข้อความแล้วแต่มีเจตนาที่จะยินยอมให้อยู่ต่อไป หรือกรณีใดที่ผู้ให้บริการไม่ได้ยินยอมแต่ทำหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อตรวจ สอบไม่พบเนื้อหาผิดกฎหมาย หรือเนื่องจากความผิดพลาดส่วนบุคคลโดยไม่ได้ตั้งใจ 
สำหรับ “ขั้นตอนการแจ้งเตือน” หรือระบบ Notice and Takedown นั้น เป็นหลักการใหม่ที่ไม่เคยมีอยู่ในกฎหมายเดิม ร่างฉบับนี้ยังไม่ได้เขียนไว้ว่าขั้นตอนการแจ้งเตือนจะเป็นอย่างไรบ้าง ผู้ให้บริการจะต้องลบออกภายในเวลาเท่าใด และผู้ให้บริการมีสิทธิอุทธรณ์ได้หรือไม่ ร่างฉบับนี้เพียงกำหนดให้รัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเป็นกระทรวงที่จะตั้งขึ้นใหม่ เป็นผู้มีอำนาจกำหนดรายละเอียดต่อไป จึงต้องขึ้นอยู่กับกฎระเบียบที่จะออกมาในอนาคตอีกด้วยว่าจะสามารถสามารถ แก้ไขปัญหาที่มีอยู่เดิมได้หรือไม่
เท่าที่ทราบ จากร่างในปัจจุบัน คือ ผู้ให้บริการที่ไม่ได้ลบข้อความผิดกฎหมายออกภายในเวลาที่กำหนดยังคงต้องรับ ผิดในอัตราโทษเท่ากับผู้ผลิตและเผยแพร่ข้อความ หากผู้ให้บริการจะพ้นผิดได้เป็นภาระของผู้ให้บริการที่จะต้องพิสูจน์ให้ศาล เห็นว่าได้ปฏิบัติตามขั้นตอนถูกต้องแล้ว
 
ตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูล สั่งบล็อคเว็บ "ขัดต่อศีลธรรม" ได้ แม้เนื้อหาไม่ผิดกฎหมายใด
ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับที่ใช้กันอยู่ มาตรา 20 เนื้อหาที่เจ้าหน้าที่นำไปขอหมายศาลให้ปิดกั้นการเข้าถึง หรือการ "บล็อคเว็บ" ได้ ต้องมีลักษณะ คือ เป็นความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ที่เกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ เกี่ยวกับการก่อการร้าย หรือ ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน 
ก่อน หน้านี้แม้เจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จะตรวจพบเว็บไซต์ที่มีวัตถุประสงค์ผิดกฎหมายต่างๆ เช่น เว็บไซต์เล่นการพนัน เว็บไซต์ขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต เว็บไซต์ละเมิดลิขสิทธิ์ ฯลฯ แต่ก็ไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะบล็อคการเข้าถึงเว็บไซต์เหล่านี้ เนื่องจากเป็นกระทำความผิดที่อยู่นอกเหนือพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ และอยู่นอกเหนืออำนาจของเจ้าพนักงาน ทำให้ไม่มีกฎหมายให้อำนาจการปิดกั้นเว็บไซต์ต่างๆ เหล่านี้ได้
ใน ร่างแก้ไขพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับล่าสุด มาตรา 20(3) จึงกำหนดให้เจ้าพนักงานตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ สามารถขอหมายศาลให้บล็อคเว็บที่มีเนื้อหาผิดต่อกฎหมายอื่นได้ด้วย เมื่อเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายนั้นๆ ร้องขอมา เช่น เมื่อตำรวจในท้องที่ร้องขอให้ปิดเว็บไซต์เล่นการพนัน เมื่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ร้องขอให้ปิดเว็บไซต์ที่ขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือกรมทรัพย์สินทางปัญญาร้องขอให้ปิดเว็บไซต์ที่ขายของละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นต้น 
นอกจากนี้ ร่างแก้ไขพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับนี้ ยังมีมาตรา 20(4) ที่เปิดโอกาสให้เจ้าพนักงานดำเนินการปิดกั้นเว็บไซต์ที่แม้เนื้อหาจะไม่ผิด กฎหมายใดเลยก็ได้ ถ้าเห็นว่าเนื้อหาของเว็บไซต์นั้นขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี ของประชาชน โดยมาตรา 20(4) กำหนดให้รัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์ ขึ้นมาเป็นหน่วยงานใหม่ มีกรรมการ 5 คน โดยสองในห้าคนต้องเป็นตัวแทนภาคเอกชน หากคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลลงมติเป็นเอกฉันท์ให้ปิดกั้นเนื้อหาใดที่ขัด ต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เจ้าพนักงานก็ดำเนินการขออนุมัติจากศาลให้บล็อคเว็บไซต์ที่มีเนื้อหานั้นๆ ได้ 
 
นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ร่างแก้ไขพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับนี้ ยังมีประเด็นใหม่ๆ เพิ่มเติมเข้ามา เช่น การขยายระยะเวลาที่ให้ผู้ให้บริการมีหน้าที่เก็บข้อมูลการใช้งานคอมพิวเตอร์ ในกรณีจำเป็นจากไม่เกินหนึ่งปีเป็นสองปี การมีเงินเพิ่มพิเศษให้สำหรับเจ้าพนักงานตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ การเอาผิดกับการเผยแพร่ภาพตัดต่อไปถึงภาพตัดต่อของผู้ที่เสียชีวิตแล้ว การเพิ่มโทษฐานส่งสแปมโดยไม่เปิดโอกาสให้บอกเลิก รวมทั้งการเพิ่มโทษการเจาะระบบหรือทำลายระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับ ความมั่นคงของรัฐด้วย
cr:https://www.youtube.com/watch?v=MG0HJla565U



 

ใบงานที่ 2

ความรู้เรื่อง blog
 

Blog คืออะไร
      Blog มาจากศัพท์คำว่า WeBlog บางคนอ่านคำ ๆ นี้ว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งสองคำบ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน ว่านั่นคือบล็อก (Blog)
      ความหมายของคำว่า Blog ก็คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเองใส่ลงไปในบทความนั้น ๆ โดยบล็อกบางแห่ง จะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะ เช่นกลุ่มเพื่อน ๆ หรือครอบครัวตนเอง
      มีหลายครั้งที่เกิดความเข้าใจกันผิดว่า Blog เป็นได้แค่ไดอารี่ออนไลน์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไดอารี่ออนไลน์เปรียบเสมือน เนื้อหาประเภทหนึ่งของบล็อกเท่านั้น เพราะบล็อกมีเนื้อหาที่หลากหลายประเภท ตั้งแต่การบันทึกเรื่องส่วนตัวอย่างเช่นไดอารี่ หรือการบันทึกบทความที่ผู้เขียนบล็อกสนใจในด้านอื่นด้วย ที่เห็นชัดเจนคือ เนื้อหาบล็อกประเภท วิจารณ์การเมือง หรือการรีวิวผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ตัวเองเคยใช้ หรือซื้อมานั่นเอง อีกทั้งยังสามารถแตกแขนงไปในเนื้อหาในประเภทต่าง ๆ อีกมากมาย ตามแต่ที่เจ้าของบล็อกจะเป็นคนที่ถนัดในด้านไหน ก็มักจะเขียนบทความเรื่องที่ตนเองถนัด หรือสนใจเป็นต้น
     และจุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ มันสามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบ comment ของบล็อกนั่นเอง
      ในอดีตแรกเริ่ม คนที่เขียน Blog นั้นยังทำกันในระบบ Manual คือเขียนเว็บเองทีละหน้า แต่ในปัจจุบันนี้ มีเครื่องมือหรือซอฟท์แวร์ให้เราใช้ในการเขียน Blog ได้มากมาย เช่น WordPress, Movable Type เป็นต้น
      ผู้คนหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก หันมาเขียน Blog กันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่นักเรียน อาจารย์ นักเขียน ตลอดจนถึงระดับบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดหุ้น NasDaq
    

      เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา Blog เริ่มต้นมาจากการเขียนเป็นงานอดิเรกของกลุ่มสื่ออิสระต่าง ๆ หลาย ๆ แห่งกลายเป็นแหล่งข่าวสำคัญให้กับหนังสือพิมพ์หรือสำนักข่าวชั้นนำ จวบจนกระทั่งปี 2004 คนเขียน Blog ก็ได้รับการยอมรับจากสื่อและสำนักข่าวต่าง ๆ ถึงความรวดเร็วในการให้ข้อมูลตั้งแต่เรื่องการเมืองไปจนกระทั่งเรื่องราวของการประชุมระดับชาติ
      และจากเหตุการณ์เหล่านี้ นับได้ว่า Blog เป็นสื่อชนิดหนึ่งที่ไม่ต่างจาก วีดีโอ , สิ่งพิมพ์ , โทรทัศน์ หรือแม้กระทั่งวิทยุ เราสามารถเรียกได้ว่า Blog ได้เข้ามาเป็นสื่อชนิดใหม่ที่สำคัญอย่างแท้จริง
      สรุปให้ง่าย ๆ สั้น ๆ ก็คือ Blog คือเว็บไซต์ที่มีรูปแบบเนื้อหาเป็นเหมือนบันทึกส่วนตัวออนไลน์ มีส่วนของการ comments และก็จะมี link ไปยังเว็บอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

 
โครงสร้างของ Blog
      มาดูเรื่องกายวิภาคของ Blog กันดีกว่า ว่า blog นั้นมีส่วนประกอบที่สำคัญอะไรบ้าง จะได้รู้ว่าเราจะใช้ประโยชน์จากส่วนต่าง ๆ ของ blog นั้นได้อย่างเต็มที่
1. ชื่อบล็อก (ฺBlog Title)

ส่วนของ Blog Title นี้ก็จะเป็นชื่อบล็อกนั้น ๆ ครับ
2. แท็กไลน์ (Subtitle หรือ Tag line)

ตรงส่วนนี้จะเป็นคำจำกัดความของเว็บ หรือสโลแกนเก๋ ๆ ที่ใช้อธิบายถึงตัวบล็อกโดยรวม โดยตัวแท็กไลน์นี้ จะมีก็ได้ หรือไม่มีก็ได้ เพราะมันไม่สำคัญเท่ากับชื่อบล็อกครับ
3. วันที่และเวลา (Date & Time Stamp)

เป็นวันที่ และบางทีอาจมีเวลากำกับอยู่ด้วย ตัววันที่และเวลานี้ จะเป็นตัวบอกว่าบทความในบล็อกนั้นเขียนขึ้นมาเมื่อไหร่ บางครั้งอาจมีวันที่ระบุอยู่ในส่วนของ comment ด้วย ซึ่งจะเป็นการบ่งบอกว่า comment นั้นเขียนเข้ามาเมื่อไหร่เช่นกัน
4. ชื่อบทความ (Entry Title)

ชื่อเรื่องของบทความที่เขียนในบล็อก
5. ตัวเนื้อหาบทความ (Entry’s Main Body)

อาจเป็นตัวหนังสือ หรืออาจเป็นรูปภาพ วีดีโอ หรืออนิเมชั่น เป็นต้น โดยส่วนประกอบเหล่านี้จะรวมเป็นส่วนเนื้อหาของบทความ
6. ชื่อผู้เขียน (Blog Author)

บางบล็อก อาจมีการระบุชื่อผู้เขียนไว้ในบล็อกด้วยครับ โดยตำแหน่งที่จะใส่ชื่อผู้เขียนนั้น สามารถไว้ที่ตำแหน่งใดก็ได้ เช่นด้านข้าง (sidebar) หรืออยู่ในตัวบทความก็ได้
7. คอมเม้นต์ (Comment tag)

เป็นลิงค์ที่ให้ผู้อ่านคลิกไปเพื่อกรอกคอมเม้นต์ให้กับบล็อกนั้น ๆ ได้
8. ลิงค์ถาวร (Permalink)

เรียกชื่อไทยแล้วเขิ้นเขิน เราสามารถเรียกทับศัพท์ก็ได้ครับว่า เพอร์มาลิ้งค์ เจ้าลิงค์ตัวนี้คือลิงค์ที่ไปหา url ของบทความนั้น ๆ โดยตรงครับ มีประโยชน์สำหรับ blogger คนอื่น ๆ ที่อยากจะทำลิงค์หาบทความของเราโดยตรง ก็จะสามารถหา permalink ได้อย่างง่ายดายครับ โดย url ของ permalink นี้จะไม่เปลี่ยนไปตามวันและเวลาเหมือน link ของหน้าแรกของบล็อกที่บทความจะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ครับ นี่แหละครับที่เค้าเรียกว่า ลิงค์ถาวร
9. ปฎิทิน (Calendar)

บล็อกบางแห่งอาจมีปฎิทินอยู่ด้วย โดยในปฎิทินนั้นสามารกคลิกตามวันที่ เพื่ออ่านบทความของวันที่นั้น ๆ ได้สะดวกครับ
10. บทความย้อนหลัง (Archives)

บทความเก่า หรือบทความย้อนหลัง อาจมีการจัดเตรียมไว้โดยเจ้าของบล็อก โดยบล็อกแต่ละแห่งอาจจัดเรียงบทความย้อนหลัง ไม่เหมือนกัน เช่นจัดเรียงรายเดือน รายสัปดาห์ รายวัน หรือจะ list บทความทั้งหมดออกมาเลยก็ได้
11. ลิงค์ไปยังเว็บอื่น (Links)

เป็นจุดเด่นและความสนุกของบล็อกอีกอย่างหนึ่งเลยทีเดียวครับ โดยบล็อกแต่ละแห่ง อาจมีลิงค์ไปยังเว็บอื่นหลากหลายเว็บ บางครั้งเราสามารถเรียก link พวกนี้ว่า blogroll ก็ได้ครับ
12. RSS หรือ XML

ตัว RSS นี้อาจมีเตรียมไว้ให้เราโดยอัตโนมัติ ขึ้นอยู่กับ Blogware หรือ Blog Host ที่เราเลือกใช้ เช่น WordPress หรือ MovableType นั้นจะมี RSS ลิงค์ไว้ให้เราโดยอัตโนมัติ โดยเจ้า RSS Feed นี้จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าถึงบทความของเราได้ง่ายขึ้น โดยการใช้โปรแกรมช่วยอ่าน Feed ได้ด้วย บางครั้งนักเขียน Blog คนอื่น ก็อาจใช้ RSS Feed นี้เพื่อประโยชน์ในการดึงข้อมูลไปแสดงในเว็บ หรือบล็อกของตนได้

 cr.https://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=7&cad=rja&uact=8&ved=0ahUKEwifvPid147OAhUFMY8KHVvABE4QFghJMAY&url=http%3A%2F%2Fstaff.informatics.buu.ac.th%2F~athitha%2F310101%2F%25C3%25D2%25C2%25A7%25D2%25B91%2Fblog%2FBlog.doc&usg=AFQjCNEX6danZKAVmA_A3Bfl6RrAuJ-jYg&sig2=REEp0SfmdNcbORrW2__55g 

ประโยชน์ของBlog                                                                                                                                                            1.เพื่อบริหารการจัดการความรู้ต่างๆ โดย Blog จะเป็นช่องทางให้ผู้อ่านหาข้อมูลที่ต้องการจาก Blog ต่างๆได้โดยง่าย ขณะเดียวกันผู้เขียน Blog หรือ Blogger ก็สามารถค้นคว้าหาข้อมูล หรือ update ข้อมูลใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้อ่านได้                       
2.เป็นที่ติดต่อสือสารและแรกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบุคคลที่มีแนวความคิดเดียวกัน เช่น เมื่อเราเขียน Blog แล้วมีผู้สนใจในเนื้อหา อาจมีข้อสงสัยสามารถที่จะ comment ข้อสงสัยไว้ได้เพื่อต้องกานให้ผู้เขียน อธิบายหรือตอบปัญหาดังกล่าว                                 
3.เป็นประโยชน์โดยตรงต่อผู้อ่านและผู้ เขียนคือผู้อ่านได้รับความรู้จากเรื่องที่ตนสนใจ และสามารถ comment เพื่อแสดงความคิดเห็นไว้ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้อ่านและผู้เขียนทำให้เกิดแนวคิด ใหม่ๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์ และทำความเข้าใจได้มากขึ้น    
4.เป็นแหล่งความรู้ที่หลากหลาย เป็นสิ่งสรุปข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ผู้สนใจเข้ามาอ่านหา ความรู้ได้ง่าย มีการแสดงแนวคิดความคิดเห็นให้ ผู้อ่านได้ตัดสินใจ และเป็นแหล่งที่ ตั้งคำถามที่เราสงสัยเพื่อให้ผู้ที่มีความรู้เข้ามา comment บรรยาย ให้เราทราบได้อีกด้วย

cr.https://oroshikung.wordpress.com/2009/01/30/blog-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3-%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2/ 

วิธีเปลี่ยนรูปเมาส์ในบล็อก

  1. ขั้นแรกก็ให้เข้าไปที่เว็บ http://www.cursors-4u.com เข้าไปเลย


     2. เลือกแบบเมาส์ที่ต้องการ โดยเมนูจะอยู่ด้านซ้ายมือนะครับ เลือกหมวดที่ใช่ ชนิดที่ชอบได้เลย

     3. เราก็จะมาพบกับโฆษณาแฝงครับ ไม่ต้องตกใจ กด skip this ads  ตัวเล็กๆ ด้านบนได้เลย



     4. ต่อมาก็จะมีหมวดย่อยให้เลือกครับ เลือกเลย

     5. หลังจากเลือกหมวดย่อยแล้ว เราก็จะได้เลือกรูปแบบของเมาส์กันสักทีนะครับ

     6. สังเกตในรูปนะครับ อันไหนที่เขียนว่า cursor set อย่าไปเอานะครับ เพราะมันมาเป็นเซ็ต ใช้ในบล็อกไม่ได้


     7. เมื่อได้แบบของเมาส์ที่ต้องการแล้วก็คลิกเข้าไปเลย

     8. ไม่ต้องกดดาวน์โหลดนะครับ ให้หาแท๊บที่เขียนว่า blogger/blogspot แบบในรูป แล้วคลิกเข้าไป


     9. เนื่องจากเราใช้บล็อกรูปแบบใหม่ ดังนั้นให้ coppy โค้ดจากช่องล่างที่เขียนว่า new blogger/blogspot interface ตามรูปเลย
 

     10. ขั้นต่อไปก็ไปที่ blogger.com ล็อกอินเข้าหน้าแดชบอร์ด


     11. เลือกบล็อกที่เราจะเปลี่ยนรูปเมาส์ครับ แล้วกดลูกศรชี้ลงที่หมายเลข 4 ตามรูป


     12. เลือกแม่แบบครับ  เมื่อได้หน้าจอดังรูปข้างล่างแล้ว ก็กดตรง "แก้ไขHTML"


     13. ก็จะเข้าสู้หน้าจอเตือนการแก้ไข HTML ครับ หน้าจอนี้จะแจ้งเตือนทุกครั้ง ที่เราจะเข้าไปแก้ไข HTML ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้สำหรับเขียนเว็บ หากทำสุ่มสี่สุ่มห้าไป อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อหน้าเว็บบล็อกของเราได้ เขาเลยต้องเตือนไว้ก่อน แต่ไม่ต้องกลัวครับ ถ้าไม่ทำเกินที่ผมบอก รับรองไม่เป็นไร ก็เลือก "ดำเนินการ" ได้เลย


     14. พอเข้ามาแล้วก็เจอตัวยึกยือ ยึกยือเต็มไปหมดใช่ใหม่ครับ นี่แหละภาษา HTML บวกด้วย Java อย่าไปใส่ใจครับมองหาบรรทัดที่ 14 ที่จะเขียนว่า
     <title><.....................></title>           (ตรงจุดๆนั่นอาจจะไม่เหมือนกันครับ แต่ให้หาที่มี title ก็พอ
          สังเกตในรูปนะครับ ใต้บรรทัดที่ 14 จะมีบรรทัดว่างอยู่ 1 บรรทัด ให้เอาโค้ดที่เรา copy มา Paste ลงตรงนั้นเลยครับ จากนั้นก็กดบันทึกเทมเพลต

     15. แล้วก็เข้าไปดูบล็อกได้เลย เมาส์เปลี่ยนไปแล้ววววว