พุยพุย

วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ใบงานที่ 2

ความรู้เรื่อง blog
 

Blog คืออะไร
      Blog มาจากศัพท์คำว่า WeBlog บางคนอ่านคำ ๆ นี้ว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งสองคำบ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน ว่านั่นคือบล็อก (Blog)
      ความหมายของคำว่า Blog ก็คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเองใส่ลงไปในบทความนั้น ๆ โดยบล็อกบางแห่ง จะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะ เช่นกลุ่มเพื่อน ๆ หรือครอบครัวตนเอง
      มีหลายครั้งที่เกิดความเข้าใจกันผิดว่า Blog เป็นได้แค่ไดอารี่ออนไลน์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไดอารี่ออนไลน์เปรียบเสมือน เนื้อหาประเภทหนึ่งของบล็อกเท่านั้น เพราะบล็อกมีเนื้อหาที่หลากหลายประเภท ตั้งแต่การบันทึกเรื่องส่วนตัวอย่างเช่นไดอารี่ หรือการบันทึกบทความที่ผู้เขียนบล็อกสนใจในด้านอื่นด้วย ที่เห็นชัดเจนคือ เนื้อหาบล็อกประเภท วิจารณ์การเมือง หรือการรีวิวผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ตัวเองเคยใช้ หรือซื้อมานั่นเอง อีกทั้งยังสามารถแตกแขนงไปในเนื้อหาในประเภทต่าง ๆ อีกมากมาย ตามแต่ที่เจ้าของบล็อกจะเป็นคนที่ถนัดในด้านไหน ก็มักจะเขียนบทความเรื่องที่ตนเองถนัด หรือสนใจเป็นต้น
     และจุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ มันสามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบ comment ของบล็อกนั่นเอง
      ในอดีตแรกเริ่ม คนที่เขียน Blog นั้นยังทำกันในระบบ Manual คือเขียนเว็บเองทีละหน้า แต่ในปัจจุบันนี้ มีเครื่องมือหรือซอฟท์แวร์ให้เราใช้ในการเขียน Blog ได้มากมาย เช่น WordPress, Movable Type เป็นต้น
      ผู้คนหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก หันมาเขียน Blog กันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่นักเรียน อาจารย์ นักเขียน ตลอดจนถึงระดับบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดหุ้น NasDaq
    

      เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา Blog เริ่มต้นมาจากการเขียนเป็นงานอดิเรกของกลุ่มสื่ออิสระต่าง ๆ หลาย ๆ แห่งกลายเป็นแหล่งข่าวสำคัญให้กับหนังสือพิมพ์หรือสำนักข่าวชั้นนำ จวบจนกระทั่งปี 2004 คนเขียน Blog ก็ได้รับการยอมรับจากสื่อและสำนักข่าวต่าง ๆ ถึงความรวดเร็วในการให้ข้อมูลตั้งแต่เรื่องการเมืองไปจนกระทั่งเรื่องราวของการประชุมระดับชาติ
      และจากเหตุการณ์เหล่านี้ นับได้ว่า Blog เป็นสื่อชนิดหนึ่งที่ไม่ต่างจาก วีดีโอ , สิ่งพิมพ์ , โทรทัศน์ หรือแม้กระทั่งวิทยุ เราสามารถเรียกได้ว่า Blog ได้เข้ามาเป็นสื่อชนิดใหม่ที่สำคัญอย่างแท้จริง
      สรุปให้ง่าย ๆ สั้น ๆ ก็คือ Blog คือเว็บไซต์ที่มีรูปแบบเนื้อหาเป็นเหมือนบันทึกส่วนตัวออนไลน์ มีส่วนของการ comments และก็จะมี link ไปยังเว็บอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

 
โครงสร้างของ Blog
      มาดูเรื่องกายวิภาคของ Blog กันดีกว่า ว่า blog นั้นมีส่วนประกอบที่สำคัญอะไรบ้าง จะได้รู้ว่าเราจะใช้ประโยชน์จากส่วนต่าง ๆ ของ blog นั้นได้อย่างเต็มที่
1. ชื่อบล็อก (ฺBlog Title)

ส่วนของ Blog Title นี้ก็จะเป็นชื่อบล็อกนั้น ๆ ครับ
2. แท็กไลน์ (Subtitle หรือ Tag line)

ตรงส่วนนี้จะเป็นคำจำกัดความของเว็บ หรือสโลแกนเก๋ ๆ ที่ใช้อธิบายถึงตัวบล็อกโดยรวม โดยตัวแท็กไลน์นี้ จะมีก็ได้ หรือไม่มีก็ได้ เพราะมันไม่สำคัญเท่ากับชื่อบล็อกครับ
3. วันที่และเวลา (Date & Time Stamp)

เป็นวันที่ และบางทีอาจมีเวลากำกับอยู่ด้วย ตัววันที่และเวลานี้ จะเป็นตัวบอกว่าบทความในบล็อกนั้นเขียนขึ้นมาเมื่อไหร่ บางครั้งอาจมีวันที่ระบุอยู่ในส่วนของ comment ด้วย ซึ่งจะเป็นการบ่งบอกว่า comment นั้นเขียนเข้ามาเมื่อไหร่เช่นกัน
4. ชื่อบทความ (Entry Title)

ชื่อเรื่องของบทความที่เขียนในบล็อก
5. ตัวเนื้อหาบทความ (Entry’s Main Body)

อาจเป็นตัวหนังสือ หรืออาจเป็นรูปภาพ วีดีโอ หรืออนิเมชั่น เป็นต้น โดยส่วนประกอบเหล่านี้จะรวมเป็นส่วนเนื้อหาของบทความ
6. ชื่อผู้เขียน (Blog Author)

บางบล็อก อาจมีการระบุชื่อผู้เขียนไว้ในบล็อกด้วยครับ โดยตำแหน่งที่จะใส่ชื่อผู้เขียนนั้น สามารถไว้ที่ตำแหน่งใดก็ได้ เช่นด้านข้าง (sidebar) หรืออยู่ในตัวบทความก็ได้
7. คอมเม้นต์ (Comment tag)

เป็นลิงค์ที่ให้ผู้อ่านคลิกไปเพื่อกรอกคอมเม้นต์ให้กับบล็อกนั้น ๆ ได้
8. ลิงค์ถาวร (Permalink)

เรียกชื่อไทยแล้วเขิ้นเขิน เราสามารถเรียกทับศัพท์ก็ได้ครับว่า เพอร์มาลิ้งค์ เจ้าลิงค์ตัวนี้คือลิงค์ที่ไปหา url ของบทความนั้น ๆ โดยตรงครับ มีประโยชน์สำหรับ blogger คนอื่น ๆ ที่อยากจะทำลิงค์หาบทความของเราโดยตรง ก็จะสามารถหา permalink ได้อย่างง่ายดายครับ โดย url ของ permalink นี้จะไม่เปลี่ยนไปตามวันและเวลาเหมือน link ของหน้าแรกของบล็อกที่บทความจะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ครับ นี่แหละครับที่เค้าเรียกว่า ลิงค์ถาวร
9. ปฎิทิน (Calendar)

บล็อกบางแห่งอาจมีปฎิทินอยู่ด้วย โดยในปฎิทินนั้นสามารกคลิกตามวันที่ เพื่ออ่านบทความของวันที่นั้น ๆ ได้สะดวกครับ
10. บทความย้อนหลัง (Archives)

บทความเก่า หรือบทความย้อนหลัง อาจมีการจัดเตรียมไว้โดยเจ้าของบล็อก โดยบล็อกแต่ละแห่งอาจจัดเรียงบทความย้อนหลัง ไม่เหมือนกัน เช่นจัดเรียงรายเดือน รายสัปดาห์ รายวัน หรือจะ list บทความทั้งหมดออกมาเลยก็ได้
11. ลิงค์ไปยังเว็บอื่น (Links)

เป็นจุดเด่นและความสนุกของบล็อกอีกอย่างหนึ่งเลยทีเดียวครับ โดยบล็อกแต่ละแห่ง อาจมีลิงค์ไปยังเว็บอื่นหลากหลายเว็บ บางครั้งเราสามารถเรียก link พวกนี้ว่า blogroll ก็ได้ครับ
12. RSS หรือ XML

ตัว RSS นี้อาจมีเตรียมไว้ให้เราโดยอัตโนมัติ ขึ้นอยู่กับ Blogware หรือ Blog Host ที่เราเลือกใช้ เช่น WordPress หรือ MovableType นั้นจะมี RSS ลิงค์ไว้ให้เราโดยอัตโนมัติ โดยเจ้า RSS Feed นี้จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าถึงบทความของเราได้ง่ายขึ้น โดยการใช้โปรแกรมช่วยอ่าน Feed ได้ด้วย บางครั้งนักเขียน Blog คนอื่น ก็อาจใช้ RSS Feed นี้เพื่อประโยชน์ในการดึงข้อมูลไปแสดงในเว็บ หรือบล็อกของตนได้

 cr.https://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=7&cad=rja&uact=8&ved=0ahUKEwifvPid147OAhUFMY8KHVvABE4QFghJMAY&url=http%3A%2F%2Fstaff.informatics.buu.ac.th%2F~athitha%2F310101%2F%25C3%25D2%25C2%25A7%25D2%25B91%2Fblog%2FBlog.doc&usg=AFQjCNEX6danZKAVmA_A3Bfl6RrAuJ-jYg&sig2=REEp0SfmdNcbORrW2__55g 

ประโยชน์ของBlog                                                                                                                                                            1.เพื่อบริหารการจัดการความรู้ต่างๆ โดย Blog จะเป็นช่องทางให้ผู้อ่านหาข้อมูลที่ต้องการจาก Blog ต่างๆได้โดยง่าย ขณะเดียวกันผู้เขียน Blog หรือ Blogger ก็สามารถค้นคว้าหาข้อมูล หรือ update ข้อมูลใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้อ่านได้                       
2.เป็นที่ติดต่อสือสารและแรกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบุคคลที่มีแนวความคิดเดียวกัน เช่น เมื่อเราเขียน Blog แล้วมีผู้สนใจในเนื้อหา อาจมีข้อสงสัยสามารถที่จะ comment ข้อสงสัยไว้ได้เพื่อต้องกานให้ผู้เขียน อธิบายหรือตอบปัญหาดังกล่าว                                 
3.เป็นประโยชน์โดยตรงต่อผู้อ่านและผู้ เขียนคือผู้อ่านได้รับความรู้จากเรื่องที่ตนสนใจ และสามารถ comment เพื่อแสดงความคิดเห็นไว้ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้อ่านและผู้เขียนทำให้เกิดแนวคิด ใหม่ๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์ และทำความเข้าใจได้มากขึ้น    
4.เป็นแหล่งความรู้ที่หลากหลาย เป็นสิ่งสรุปข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ผู้สนใจเข้ามาอ่านหา ความรู้ได้ง่าย มีการแสดงแนวคิดความคิดเห็นให้ ผู้อ่านได้ตัดสินใจ และเป็นแหล่งที่ ตั้งคำถามที่เราสงสัยเพื่อให้ผู้ที่มีความรู้เข้ามา comment บรรยาย ให้เราทราบได้อีกด้วย

cr.https://oroshikung.wordpress.com/2009/01/30/blog-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3-%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2/ 

วิธีเปลี่ยนรูปเมาส์ในบล็อก

  1. ขั้นแรกก็ให้เข้าไปที่เว็บ http://www.cursors-4u.com เข้าไปเลย


     2. เลือกแบบเมาส์ที่ต้องการ โดยเมนูจะอยู่ด้านซ้ายมือนะครับ เลือกหมวดที่ใช่ ชนิดที่ชอบได้เลย

     3. เราก็จะมาพบกับโฆษณาแฝงครับ ไม่ต้องตกใจ กด skip this ads  ตัวเล็กๆ ด้านบนได้เลย



     4. ต่อมาก็จะมีหมวดย่อยให้เลือกครับ เลือกเลย

     5. หลังจากเลือกหมวดย่อยแล้ว เราก็จะได้เลือกรูปแบบของเมาส์กันสักทีนะครับ

     6. สังเกตในรูปนะครับ อันไหนที่เขียนว่า cursor set อย่าไปเอานะครับ เพราะมันมาเป็นเซ็ต ใช้ในบล็อกไม่ได้


     7. เมื่อได้แบบของเมาส์ที่ต้องการแล้วก็คลิกเข้าไปเลย

     8. ไม่ต้องกดดาวน์โหลดนะครับ ให้หาแท๊บที่เขียนว่า blogger/blogspot แบบในรูป แล้วคลิกเข้าไป


     9. เนื่องจากเราใช้บล็อกรูปแบบใหม่ ดังนั้นให้ coppy โค้ดจากช่องล่างที่เขียนว่า new blogger/blogspot interface ตามรูปเลย
 

     10. ขั้นต่อไปก็ไปที่ blogger.com ล็อกอินเข้าหน้าแดชบอร์ด


     11. เลือกบล็อกที่เราจะเปลี่ยนรูปเมาส์ครับ แล้วกดลูกศรชี้ลงที่หมายเลข 4 ตามรูป


     12. เลือกแม่แบบครับ  เมื่อได้หน้าจอดังรูปข้างล่างแล้ว ก็กดตรง "แก้ไขHTML"


     13. ก็จะเข้าสู้หน้าจอเตือนการแก้ไข HTML ครับ หน้าจอนี้จะแจ้งเตือนทุกครั้ง ที่เราจะเข้าไปแก้ไข HTML ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้สำหรับเขียนเว็บ หากทำสุ่มสี่สุ่มห้าไป อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อหน้าเว็บบล็อกของเราได้ เขาเลยต้องเตือนไว้ก่อน แต่ไม่ต้องกลัวครับ ถ้าไม่ทำเกินที่ผมบอก รับรองไม่เป็นไร ก็เลือก "ดำเนินการ" ได้เลย


     14. พอเข้ามาแล้วก็เจอตัวยึกยือ ยึกยือเต็มไปหมดใช่ใหม่ครับ นี่แหละภาษา HTML บวกด้วย Java อย่าไปใส่ใจครับมองหาบรรทัดที่ 14 ที่จะเขียนว่า
     <title><.....................></title>           (ตรงจุดๆนั่นอาจจะไม่เหมือนกันครับ แต่ให้หาที่มี title ก็พอ
          สังเกตในรูปนะครับ ใต้บรรทัดที่ 14 จะมีบรรทัดว่างอยู่ 1 บรรทัด ให้เอาโค้ดที่เรา copy มา Paste ลงตรงนั้นเลยครับ จากนั้นก็กดบันทึกเทมเพลต

     15. แล้วก็เข้าไปดูบล็อกได้เลย เมาส์เปลี่ยนไปแล้ววววว
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น